ประวัติ ของ อันโตนิโอ ปินโต

คุณพ่ออันโตนิโอเกิดในปี ค.ศ. 1664 บิดาเป็นชาวเบงกอล ส่วนมารดาเป็นไทย[2] เข้ารีตนิกายโรมันคาทอลิกเมื่ออาแล็กซ็องดร์ อัศวินแห่งโชมง ราชทูตฝรั่งเศสมาถึงกรุงศรีอยุธยาในปี ค.ศ. 1685[2] และเป็นสามเณรเข้าศึกษา ณ สามเณราลัยนักบุญยอแซฟ กรุงศรีอยุธยา[2] ฟร็องซัว-ตีมอเลอง เดอ ชัวซีได้บันทึกถึงความเฉลียวฉลาดสามเณรนี้ว่า "มีชายชาวสยามคนหนึ่งชื่ออันโตนิโอ ปินโต ได้มายังทำเนียบที่พักของท่านราชทูตเพื่อเฉลยวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับเทววิทยาอุทิศทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว [ของฝรั่งเศส] ท่านวิสัชนาและตอบข้อปุจฉาได้อย่างมีความสามารถยิ่ง"[2]

เมื่ออายุได้ 22 ปี สามเณรอันโตนิโอหรือสามเณรอันตนได้เดินทางไปประเทศฝรั่งเศสพร้อมกับคณะราชทูตออกพระวิสุทธสุนทรเมื่อปี ค.ศ. 1685 เพื่อศึกษาต่อที่กรุงโรม และสามเณรอันตนก็ได้แสดงความเฉลียวฉลาดด้วยการแสดงปุจฉาวิสัชนาประเด็นเทวศาสตร์ต่อหน้านักบวชและประชาชนในปารีส โดยมีออกพระวิสุทธสุนทรร่วมฟังด้วย[2] หลังศึกษาที่มหาวิทยาลัยโปรปากันดาฟีเด กรุงโรม[3] รับศีลบวชขั้นบาทหลวงในปี ค.ศ. 1686[1] จึงได้เดินทางกลับกรุงศรีอยุธยาในปี ค.ศ. 1695 เพื่อช่วยงานพระสังฆราชหลุยส์ ลาโน[2]

คุณพ่ออันโตนิโอ ปินโตมรณภาพเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1696 ณ กรุงศรีอยุธยา[1][2][4]

ใกล้เคียง

อันโตนิโอ บาเลนเซีย อันโตนิโอ เซร์บันเตส อันโตนิโอ อาดัน อันโตนิโอ บันเดรัส อันโตนิโอ สตราดิวารี อันโตนิโอ เซร์เมญโญ อันโตนิโอ บาร์รากัน อันโตนิโอ ปินโต อันโตนิโอ เปเรซ อันโตนิโอ คามาโช